วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551
ปิดตาควานหา

เดินกะลา

จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนวิธีการเล่น
เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อเริ่มเล่น ทุกคนยืนอยู่ที่เส้น พอได้ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ
เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อเริ่มเล่น ทุกคนยืนอยู่ที่เส้น พอได้ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551
การเล่นว่าว

การเล่นว่าว
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนวิธีการเล่น
เอาเชือกว่าวสายยาวผูกกับสายซุง แล้วให้คนส่งว่าวไปยืนโต้ลม ห่างจากผู้ชักสายว่าว ประมาณ 4-5 เมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นรอ พอลมมากก็ส่งว่าวขึ้นไป คนชักว่าวจะกระดูกและผ่อนสายว่าวจนว่าวขึ้นสูง ติดลมบน จึงถือไว้นิ่งๆ หรือบังคับให้ว่าวส่ายไปมา ว่าวธรรมดาไม่ต้องใช้ป่านพิเศษ แต่ถ้าเป็นว่าวแข่งขัน ตัวว่าวเอาชนะแพ้กัน จะใช้ป่านคมทำสายว่าว วิธีทำป่านคม คือ เอาเศษแก้วมาบดให้ละเอียด เคี่ยวกับแป้งเปียก หรือกาว และนำมารูดตามสายว่าวที่ขึงตึง ทิ้งไว้ให้แห้งก็จะเป็นสายป่านคม
งูกินหาง

งูกินหาง
จำนวนผู้เล่น 8-10 คน วิธีการเล่นแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่1จะต้องเป็น"พ่องู" ฝ่ายที่2มี"แม่งู" 1 คนที่เหลือเป็น"ลูกงู" ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เป็นแม่งู จากนั้นพ่องูจะถามว่า "แม่งูเอ๋ย" แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า"เอ๋ย" พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า "กินหัว กินหาง" แม่งูตอบว่า "กินกลางตลอดตัว" ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูกงูหากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็ต้องออกจากการเล่นผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับหมด